หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูล
เรื่อง ฐานข้อมูล

_________________________________________________________________                               

ฐานข้อมูล (Database) คืออะไร
          ระบบในการจัดการข้อมูลอย่างมีระเบียบ โดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อจุดประสงค์ที่ชัดเจน หรือประโยชน์ทางธุรกิจ เช่นระบบลงทะเบียนนักศึกษา ระบบทะเบียนราษฎร์ เป็นต้น

องค์ประกอบของฐานข้อมูล
ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบหลักดังนี้
1. ข้อมูล (
Data) จะเป็นรหัสประจำตัว ชื่อที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ พวกนี้คือข้อมูลสำหรับจัดเก็บในฐานข้อมูลของเรา
2. คอมพิวเตอร์ (Computerจะเป็นแบบตั้งโต๊ะ (Desktop) โน้ตบุ๊ค (Notebook) หรือแม้แต่เน็ตบุ๊ค (Netbook) ก็สามารถใช้งานเก็บฐานข้อมูลได้ทั้งนั้น
3. ซอฟต์แวร์ (Software) พอมีคอมพิวเตอร์แล้ว อันดับถัดไปก็ต้องเป็นซอฟต์แวร์ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่พวกเราคุ้นเคยได้ยินกันบ่อยๆ ก็ได้แก่ Microsoft Excel, Microsoft Word แต่โปรแกรมที่เราใช้ในวิชานี้คือ Microsoft Access ซึ่งเป็นโปรแกรมเฉพาะด้านข้อมูลของโปรแกรมในชุด Microsoft Office
4. ผู้ใช้ (Userหมายถึงบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์


งานที่เหมาะกับกับการใช้ฐานข้อมูล
โปรแกรมฐานข้อมูลเหมาะอย่างยิ่งที่จะจัดการสิ่งเหล่านี้ เช่น
           -          ข้อมูลของบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์
           -          ข้อมูลสินค้าสำหรับจำหน่าย
           -          ข้อมูลชื่อหนังสือและการยืมคืนภายในห้องสมุด
           -          ข้อมูลพนักงานของบริษัทหรือองค์กรต่างๆ
           -          ข้อมูลนักเรียน นักศึกษาของสถานศึกษา
           -          ช่วยเหลือโปรแกรม Microsoft Word ในการออกจดหมายเวียน


รูปแบบของการจัดระเบียบข้อมูล
          รูปแบบของการจัดระเบียบของข้อมูล ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ  ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ลำดับจากหน่วยที่เล็กที่สุดไปยังหน่วยที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับต่อไปนี้

1. บิท (Bit : Binary Digit) คือหน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำภายในคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Bit จะแทนด้วยตัวเลขหนึ่งตัว คือ 0 หรือ 1 อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกตัวเลข 0 หรือ 1 ว่าเป็น บิท 1 บิท
2. ไบท์ (Byte) คือหน่วยของข้อมูลที่นำบิทหลายๆบิทมารวมกัน แทนตัวอักษรแต่ละตัว เช่น A, B, …, Z, 0, 1, 2, … ,9 และสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ เช่น $, &, +, -, *, / ฯลฯโดยตัวอักษร 1 ตัวจะแทนด้วยบิท7 บิท หรือ 8 บิทซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวจะเรียกว่า ไบท์ เช่น ตัว เมื่อเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์จะเก็บเป็น 1000001 ส่วนตัว จะเก็บเป็น 1000010 เป็นต้น
3. เขตข้อมูล (Field) คือ หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำตัวอักขระหลายๆตัวมารวมกัน เป็นคำที่มีความหมาย เช่น ชื่อ นามสกุล รหัสนักเรียน เป็นต้น
4. ระเบียน (Record) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำเขตข้อมูลหลายๆ เขตข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน หรือค่าของข้อมูลในแต่ละเขตข้อมูล ดังนั้น 1 Record ของข้อมูลนักศึกษาจะประกอบไปด้วย หลาย Field คือ ชื่อ นามสกุล รหัสนักศึกษา เป็นต้น
5. แฟ้มข้อมูล (File) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำระเบียนหลายๆ ระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน
6. ฐานข้อมูล (Database) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำแฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน


องค์ประกอบของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
1.    ข้อมูล (Data) และ ตาราง (Table)
โปรแกรมเกี่ยวกับฐานข้อมูลองค์ประกอบสำคัญก็คือ “ข้อมูล” โดยข้อมูลก็เป็นอะไรที่อยู่ใกล้ๆตัวเราเช่น ข้อมูลในบัตรประชาชน ซึ่งประกอบไปด้วย หมายเลขประจำตัว ชื่อ สกุล วันเกิด หมู่เลือดเป็นต้น
จากข้อมูลที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงข้อมูล 1 เรคอร์ด ถ้าจะให้เข้าใกล้ฐานข้อมูลสัมพันธเข้าไปอีก ต้องนำข้อมูลของหลายๆ คนไปใส่ในตาราง ซึ่งจะมีรูปแบบดังนี้
ตารางข้อมูลประชาชน

2.    ฟิลด์ (Field)
“ฟิลด์” มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลแบบเดียวกันเอาไว้ด้วยกัน เช่น ฟิลด์ชื่อ จะเก็บข้อมูลชื่อของประชาชนเท่านั้น หรือฟิลด์นามสกุล ก็จะเก็บข้อมูลนามสกุลประชาชนเท่านั้น ต้องไม่มีข้อมูลอื่นแอบแฝงเข้ามา

แสดงฟิลด์ของตารางข้อมูลบัตรประชาชน




ถ้าไปเปิดตำราเล่มอื่นที่เกี่ยวกับฐานข้อมูล เราอาจจะได้ยิน “แอตตริบิวต์” ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะทั้ง ฟิลด์ คอลัมน์ และแอตตริบิวต์ ต่างเป็นเรื่องเดียวกันขึ้นอยู่กับว่าไครถนัดเรียกแบบไหน

3.    เรคอร์ด (Record)
“เรคอร์ด” เป็นกลุ่มข้อมูลของฟิลด์หลายๆ ฟิลด์ ที่มีความสัมพันธ์กัน จะให้เข้าใจคือ ข้อมูตามแนวนอนของตาราง
แสดงเรคอร์ดของตารางข้อมูลบัตรประชาชน
 ถ้าไปเปิดตำราเล่มอื่นที่เกี่ยวกับฐานข้อมูล เราอาจจะได้ยิน “โรว” ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะทั้ง เรคอร์ด โรว หรือแถว ต่างเป็นเรื่องเดียวกันขึ้นอยู่กับว่าไครถนัดเรียกแบบไหน
4.    เอ็นทิตี้ (Entity) และ แอตตริบิวต์ (Attribute)
จากตาราง ฟิลด์ และเรคอร์ด เราจำเป็นต้องมาดูในอีกส่วนของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ซึ่งเขาอธิบายด้วยสิ่งที่เรียกว่า “เอ็นทิตี้” และ “แอตตริบิวต์”
โดยเอ็นทิตี้ ก็คือ กลุ่มข้อมูลหรือเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายก็คล้ายกับ “ชื่อของตาราง” เช่น เอ็นทริตี้ประชาชน (หรือตารางข้อมูลประชาชน)
ส่วนแอตตริบิวต์ ก็คือสมาชิกภายในเอ็นทิตี้ เช่น เอ็นทิตี้ของประชาชนควรประกอบได้ด้วย หมายเลขประจำตัว หมายเลขประจำตัว ชื่อ นามสกุล และอื่นๆ
ทั้งเอ็นทิตี้และแอตตริบิวต์ พอเรานำมาประกอบเข้าด้วยกันก็จะได้ดังรูป



 
          เวลาที่เขาออกแบบฐานข้อมูลกัน ก็จะหยิบเฉพาะเอ็นทิตี้มาก่อน โดยเราอาจจะเห็นเป็นแบบนี้ในหนังสือบางเล่ม

จากภาพแสดงเอ็นทิตี้ของประชาชน และเอ็นทิตี้ของผู้เสียภาษี

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หน่วยที่ 4 การจัดการข้อมูลด้วยคิวรี