หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูล
เรื่อง ความสัมพันธ์ (Relationship)
_________________________________________________________________
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูล
เรื่อง ความสัมพันธ์ (Relationship)
เรื่อง ความสัมพันธ์ (Relationship)
ความสัมพันธ์ (Relationships)
ในเมื่อตารางทั้งสองมีหมายเลขประจำตัวประชาชนเหมือนกัน ความสัมพันธ์จึงเกิดขึ้นโดยมีหมายเลขประจำตัวเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างตาราง และเขียนในรูปแบบของเอนทิตี้ได้ดังนี้
เมื่อแปลงจากตารางให้อยู่ในรูปแบบของ เอ็นทิตี้กับแอททริบิวท์ จะได้ดังรูป
และถ้าหยิบมาเฉพาะเอ็นทิตี้ ก็จะได้ดังนี้
ความสัมพันธ์ (Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างตารางหรือเอนทิตี้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างตารางประชาชน และ ตารางผู้เสียภาษี ดังตาราง
ตารางข้อมูลประชาชน
ตารางข้อมูลประชาชน
ในเมื่อตารางทั้งสองมีหมายเลขประจำตัวประชาชนเหมือนกัน ความสัมพันธ์จึงเกิดขึ้นโดยมีหมายเลขประจำตัวเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างตาราง และเขียนในรูปแบบของเอนทิตี้ได้ดังนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ อาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships)
2. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many Relationships)
3. ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships)
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง 1 : 1 (One-to-one Relationships)
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะหนึ่งต่อหนึ่ง ตัวอย่างเช่น วิชาคณิตศาสตร์ นักเรียน 1 คน จะได้แค่เกรดเดียวเท่านั้น ดังตาราง
ตารางรายชื่อนักเรียน
จากตารางทั้งสองจะเห็นว่า ตารางรายชื่อนักเรียนก็ไม่มีนักเรียนซ้ำกัน ตารางคะแนนก็จะเป็นคะแนนของแต่ละคน ไม่ซ้ำกันอีก แต่ทั้ง 2 ตารางมีเลขประจำตัวนักเรียนทั้งคู่ ซึ่งเลขประจำตัวก็คือสิ่งที่ทำให้ตารางสองตารางนี้สัมพันธ์กัน
สามารถเขียนในรูปแบบของเอนทิตี้และแอททริตี้ได้ดังนี้
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม 1 : N (one-to-many Relationships)
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์ข้อมูลหลาย ๆ ข้อมูล ในอีกเอนทิตี้หนึ่ง จะให้เข้าใจง่ายๆ คือข้อมูล 1 เรคอร์ดจากตารางหนึ่งสามารถสัมพันธ์กับข้อมูลในอีกตารางหนึ่งตั้งแต่ 1 เรคอร์ดขึ้นไปจนถึงหลายๆ เรคอร์ด ตัวอย่างดังตาราง
จากตารางจะเห็นว่าห้องสอบ 1 ห้องมีนักเรียนผู้เข้าสอบได้หลายคน
เมื่อแปลงจากตารางให้อยู่ในรูปแบบของ เอ็นทิตี้กับแอททริบิวท์ จะได้ดังรูป
และถ้าหยิบมาเฉพาะเอ็นทิตี้ ก็จะได้ดังนี้
ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships)
ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ ของข้อมูลสองเอนทิตี้ในลักษณะกลุ่มต่อกลุ่ม ตัวอย่างเช่น หนังสือ 1 เรื่องจะมีผู้ยืมหนังสือได้มากกว่า 1 คน ในขณะเดียวกัน ผู้ยืมหนังสือ 1 คน ก็สามารถยืมหนังสือได้มากกว่า 1 เรื่อง
ตารางหนังสือ
เมื่อแปลงจากตารางให้อยู่ในรูปแบบของ เอ็นทิตี้กับแอททริบิวท์ จะได้ดังรูป