Unit 4 การจัดการข้อมูลด้วยคิวรี
หน่วยที่ 4 การจัดการข้อมูลด้วยคิวรี
_________________________________________________________________
หน่วยที่ 4 การจัดการข้อมูลด้วยคิวรี
_________________________________________________________________
คิวรี (Query)
คิวรี (Query) เป็นการกรองข้อมูลที่ต้องการจากตาราง แสดงจากฐานข้อมูลที่มีข้อมูลจำนวนมาก โดยแบ่งประเภทของคิวรี ดังนี้
1. คิวแบบใช้เลือกข้อมูล (Select Query) ใช้สำหรับแสดงข้อมูลโดยดึงข้อมูลจากตารางเดียวหรือหลายตารางก็ได้
2. คิวรีแบบตาราง (Crosstab Query) เป็นคิวรีที่ใช้สำหรับคำนวณและจัดโครงสร้างข้อมูลใหม่ โดยสามารถนำมาใช้ในการเปรียบเทียบและดูแนวโน้มของข้อมูลได้ เช่น แสดงยอดขายในแต่ละเดือน
3. คิวรีพารามิเตอร์ (Parameter Query) เป็นคิวรีที่มีการแสดงไดอะล็อกบ็อกโต้ตอบโดยการใส่ค่าพารามิเตอร์เพื่อถามข้อมูลจากผู้ใช้งาน เช่น ป้อนรหัสสมาชิก
4. คิวรีแอคชัน (Action Query) เป็นคิวรีที่ใช้สำหรับเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ชนิด
4.1 คิวรีแบบใช้สร้างตาราง
4.2 คิวรีแบบใช้ลบข้อมูล
4.3 คิวรีแบบใช้ผนวกข้อมูล
4.4 คิวรีแบบใช้ปรับปรุงข้อมูล
5. คิวรีแบบ SQL เป็นคิวรีที่สร้างด้วยการใช้คำสั่งภาษา SQL
ประโยชน์ของ Query
1. แสดงข้อมูลตามเงื่อนไขที่ต้องการ
2. รวมข้อมูลจากหลาย ๆ Table แล้วให้แสดงข้อมูลเพียง Table เดียว
3. แสดงข้อมูลที่เกิดจากการคำนวณ
4. จัดกลุ่มของข้อมูล
การสร้างคิวรี
1. คลิกที่แถบเครื่องมือ สร้าง แล้วคลิปไปที่ ออกแบบคิวรีดังภาพ
2. โปรแกรมจะขึ้นหน้าจอดังภาพ
3. เลือกตารางที่ต้องการมาสร้างคิวรี แล้วกดเพิ่ม
4. โปรแกรมจะแสดงตารางที่เลือก พร้อมแสดงความสัมพันธ์ของแต่ละตารางดังภาพ
5. จากนั้นทำการดับเบิ้ลคลิกที่เลือกฟิลด์ที่ต้องการนำมาสร้างคิวรีดังตัวอย่างภาพด้านล่าง
6. สามารถกำหนดให้เรียงลำดับการแสดงข้อมูลได้ดังภาพ
7. เราสามารถใส่เงื่อนไขในการแสดงข้อมูลในคิวรีได้เช่น
เป็นการใส่เงื่อนไขว่า เขตข้อมูล movie_name ตาราง movie ให้แสดง ข้อมูล ชื่อภาพยนตร์ Iron man 1 เท่านั้น ในเงื่อนไขนั้น สามารถใส่ข้อมูลได้ดังนี้
เครื่องหมายเปรียบเทียบ
เครื่องหมาย
|
ความหมาย
|
<
|
น้อยกว่า
|
>
|
มากกว่า
|
<=
|
น้อยกว่าเท่ากับ
|
>=
|
มากกว่าเท่ากับ
|
<>
|
ไม่เท่ากับ
|
หรือต้องต้องการให้แสดงข้อมูลเฉพาะสามารถใส่ข้อมูลได้ดังนี้
ข้อความที่เป็นเงื่อนไข
|
ผลลัพธ์ที่จะแสดง
|
พิมพ์คำที่ต้องการลงในช่อง
|
จะแสดงเฉพาะประโยคที่ใส่ลงไป
|
S*
|
จะแสดงตัวอักษรที่ขึ้นต้นด้วยตัว S ทั้งหมด
|
8. จากนั้นให้คลิกที่ เรียกใช้ จะแสดงคิวรีที่ได้กำหนดไว้ออกมา
9. เมื่อได้คิวรีที่ต้องการแล้วก็สามารถกดบันทึกละเปลี่ยนชื่อคิวรีได้